GAT คืออะไร ?
Homepage
เชื่อว่าน้องๆ ม. ปลายทุกคนต้องคุ้นหูคุ้นตากับสนามสอบต่างๆ เป็นอย่างดีทั้งการสอบ O-NET, 9 วิชาสามัญ ไปจนถึง GAT/PAT แต่ก่อนจะลงสนามสอบจริง โดยเฉพาะสนามสอบที่มักมาแพ็คคู่อย่าง GAT/PAT น่าจะทำให้ใครหลายคนกังวลอยู่ไม่น้อย เพราะจับจุดข้อสอบไม่ถูก ไม่รู้แน่ชัดว่าสอบวิชาอะไร ดังนั้นก่อนไป GAT มา get ไปพร้อมๆ กันครับ
เชื่อว่าน้องๆ ม. ปลายทุกคนต้องคุ้นหูคุ้นตากับสนามสอบต่างๆ เป็นอย่างดีทั้งการสอบ O-NET, 9 วิชาสามัญ ไปจนถึง GAT/PAT แต่ก่อนจะลงสนามสอบจริง โดยเฉพาะสนามสอบที่มักมาแพ็คคู่อย่าง GAT/PAT น่าจะทำให้ใครหลายคนกังวลอยู่ไม่น้อย เพราะจับจุดข้อสอบไม่ถูก ไม่รู้แน่ชัดว่าสอบวิชาอะไร ดังนั้นก่อนไป GAT มา get ไปพร้อมๆ กันครับ
GAT คืออะไร?
GAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น “การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ”
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1) ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา เป็นการวัดความถนัดทั่วๆ ไป หรือที่เรียกว่าเป็นพาร์ทเชื่อมโยง ซึ่งน้องๆ สามารถฝึกตะลุยโจทย์จากข้อสอบ ตัวอย่างที่มีอยู่ในเว็บ สทศ. หรือติดตามได้ที่ OnDemand ในพาร์ทนี้ต้องเน้นย้ำเลยว่าควร ฝึกทำโจทย์เยอะๆ เพื่อให้คุ้นเคยกับรูปแบบการเชื่อมโยงมากยิ่งขึ้น อย่าประมาทเป็นอันขาด! เพราะน้องๆ หลายคนพลาดข้อสอบในส่วนนี้ไปเยอะ เนื่องจากทำไม่ทันเวลา
ทริคสำคัญ : สำหรับการทำข้อสอบในส่วนนี้คือ น้องๆ ต้องหา “ความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อความแต่ละข้อความ” ตามที่โจทย์ระบุมา เน้นย้ำว่า “ควรอ่านโจทย์ คำสั่ง เครื่องหมายและข้อความ ให้ละเอียดถี่ถ้วน” จากนั้นใช้วิธีการ “วาดรูป” แทนความสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยง ได้ง่ายขึ้นและเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญที่สุดต้องหมั่นฝึกทำโจทย์ของปี ที่ผ่านๆ มาให้แม่น เพื่อวันที่ลงสนามสอบจริง น้องๆ จะคุ้นเคยกับรูปแบบโจทย์ได้มากกว่า ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการทำข้อสอบได้มากกว่าคนที่ไม่เคยฝึกทำโจทย์เลย
2) ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ (เสียงลือให้หนาหูว่าภาษาอังกฤษ GAT ค่อนข้างหินมากก) โดยข้อสอบในส่วนนี้ จะแบ่งออกเป็น 4 พาร์ทใหญ่ คือ
- Speaking and Conversation การพูดคุย / การโต้ตอบสนทนา เป็นการวัดทักษะการสื่อสารทั้งการเลือกใช้ประโยค สำนวนที่ใช้ในการพูดคุย ในส่วนนี้การหัดคุยกับเจ้าของภาษา ฟังเพลงหรือดูภาพยนตร์ต่างประเทศ ช่วยได้เยอะเลยครับ
- Vocabulary เป็นการวัดคลังคำศัพท์ที่น้องๆ รู้จักนั่นเอง ซึ่งใครที่รู้จักศัพท์ภาษาอังกฤษเยอะกว่า ได้เปรียบแน่นอน แต่ขอกระซิบว่าคำศัพท์ที่ออกสอบส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยได้ใช้ ในชีวิตประจำวัน
- Structure and Writing เป็นข้อสอบเพื่อวัดในส่วนของแกรมม่า ไวยากรณ์ คำ ความหมาย หน้าที่ของเทนส์ เติมประโยคในช่องว่าง ไปจนถึงการเรียงประโยค
- Reading Comprehension พาร์ทนี้ยินดีกับหนอนหนังสือตัวยง และน้องๆ ที่ชอบฝึกอ่าน ฝึกสังเกตตามป้ายโฆษณาภาษาอังกฤษ เพราะการอ่านสามารถช่วยในส่วนนี้ได้เยอะ โดยโจทย์มักมาในรูปแบบของสำนวน เรื่องราวที่เชื่อมโยงกัน รวมไปถึงบทความต่างๆ ซึ่งน้องๆ ควรฝึกอ่านแบบจับใจความไว้ เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการอ่านและทำข้อสอบได้ทัน
อ้างอิง http://www.ondemand.in.th
อ้างอิง http://www.ondemand.in.th
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น